เกี่ยวกับเรา

ประวัติความเป็นมา

สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  เกิดจากการรวมตัวของนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์  ผ่านการอบรมหลักสูตร “ เจ้าหน้าที่รายการวิทยุกระจายเสียง” ตั้งแต่รุ่น ๑ – ๔ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๑๘ จำนวน ๑,๑๖๙  คน ซึ่งโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ (ปัจจุบันเป็นสถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี) ดำเนินการตามระเบียบกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบการบริหารงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๑๘ 

                เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๑๘ ได้มีการประชุมคณะกรรมการรุ่น ๑ – ๔  เพื่อพิจารณารวมตัวกันจัดตั้งเป็นชมรมเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกัน  เรียกว่า  “ ชมรมนักวิทยุและโทรทัศน์ ”   ประกอบด้วย  นายพยงค์ มุกดา     พ.ท.จุมพล ปัทมินทร์       พ.อ.อ.สมคิด ธนะนิมิต       นายอำนาจ สอนอิ่มสาตร์  นาวาตรี         จำเนียร ศรีพิณ 

นายไพบูลย์ ศุภาวารี   ได้มอบหมายให้ นายพยงค์ มุกดา ยื่นจดทะเบียนตั้งเป็นสมาคมต่อกระทรวงศึกษาธิการ  ตามคำขอที่ ๕/ ๒๕๒๑ และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมตามหนังสือของทางกรมศาสนากระทรวงศึกษาธิการ ที่ ต.๕ / ๒๕๒๑ ลงวันที่  ๖ มกราคม ๒๕๒๑ โดยมีชื่อตามหนังสืออนุญาตจัดตั้งว่า “ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์ ” มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่๖๒/๒๒- ๒๔  ถนนประชาราษฏร์สาย๑ แขวงบางซื่อ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร   ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับห้องบันทึกเสียงของ นายไพบูลย์  ศุภวารี หนึ่งในกลุ่มนักจัดรายการผู้ที่ร่วมก่อตั้งสมาคมฯ

                ปี ๒๕๒๓  คณะกรรมการบริหารสมาคม นำโดย นายอำนาจ สอนอิ่มสาตร์ นายกสมาคมฯคนแรกของสมาคมฯ  ได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อขอใช้พื้นที่ ส่วนหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ ที่บริเวณซอยอารีย์ซึ่งเป็นพื้นที่สถานีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงภายในประเทศ ประมาณ ๒๐๐ ตารางวา   เพื่อสร้างสำนักงานถาวรของสมาคม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประสานงานและให้ความร่วมมือกับกรมประชาสัมพันธ์ ในงานด้านการประชาสัมพันธ์ของรัฐ  กรมประชาสัมพันธ์ได้กรุณาอนุมัติให้ใช้พื้นที่ตามที่ขอไปได้  โดยอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (นายกำจัด กีพานิช)  ได้มีหนังสืออนุมัติที่ สร. ๑๖๐๑/ ๕๗๑๔  ลงวันที่ ๒๕ เมษายน  ๒๕๒๓

                การก่อสร้างที่ทำการถาวรที่ได้รับอนุมัติ ได้ดำเนินการเรื่อยมาภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารชุดแรก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และนายเฉลียว อยู่วิทยา  กรรมการผู้จัดการบริษัท กระทิงแดง  บริจาคเงินค่าก่อสร้างเป็นทุนประเดิม ๑ ล้านบาท จนถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๔ การก่อสร้างจึงแล้วเสร็จ

                นายอำนาจ สอนอิ่มสาตร์ นายกสมาคมฯ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานอัญเชิญ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดที่ทำการ ณ ห้องประชุมสมาคม เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๕ เวลา ๑๗.๐๐ น.    เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงมีพระราชดำรัสแก่แขกผู้มีเกียรติที่มาเข้าเฝ้าฯ ในพิธี แล้วเสด็จฯออกจากห้องประชุมทรงลงพระนามาภิไธยไว้ในสมุดเยี่ยมของสมาคมว่า “สิรินธร” ซึ่งต่อมาสมาคมได้อัญเชิญจารึกลงไว้ในแผ่นทองเหลืองติดตั้งไว้หน้าสมาคม เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณตราบจนถึงปัจจุบัน

                พันเอก ชำนาญ รัตนวรางค์  ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคม (คนที่ ๒)  ปี พ.ศ. ๒๕๒๗  ได้ดำเนินการปรับปรุงตกแต่งภายใน และหาทุนใช้หนี้ก่อสร้างที่ค้างอยู่ส่วนหนึ่งจนเสร็จ และได้ทำการก่อสร้างต่อเติมอาคารส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เอนกประสงค์และห้องพักเจ้าหน้าที่สมาคม  จนเสร็จสมบูรณ์

                นายไพบูลย์ ศุภวารี ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคม (คนที่ ๓) สมัยที่๕ วาระปี (พ.ศ.๒๕๓๐ – พ.ศ.๒๕๓๑) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒  แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย    นายวีระ ลิมปะพันธุ์ ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งนายกสมาคมฯ แทนเมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๓๓

นายวีระ ลิมปะพันธุ์ ได้รับเลือกตั้ง เป็นนายกสมาคม (คนที่ ๔) สมัยที่ ๖ วาระปี พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ จนถึง สมัยที่ ๑๙  วาระปีพ.ศ. ๒๕๕๙ – พ.ศ ๒๕๖๐  รวม ๒๘ ปี

ภายใต้การบริหารคณะกรรมการ นำโดย นายวีระ ลิมปะพันธุ์  สมาคมได้ยื่นขอจดทะเบียนชื่อสมาคม จากเดิมสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์  เป็น “ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ”  ตามหนังสืออนุญาตของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ ศธ ๑๓๐๖ / ๓๖๓๐  ลงวันที่  ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๔ และได้ยื่นจดทะเบียนสมาคม  กรมตำรวจ  เลขลำดับที่ จ. ๑๕๒๔  เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๗ และนอกจากนั้น ยังได้ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม เพื่อรองรับการขยายตัวของสมาชิกเพิ่มขึ้น โดยได้รับบริจาคจากนายเฉลียว อยู่วิทยา  กรรมการผู้จัดการบริษัทกระทิงแดง ๑ ล้านบาท

เมื่อ นายวีระ  ลิมปะพันธุ์    ได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ วาระปี   พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๓๘  ได้ทำหนังสือเสนอต่อราชเลขาธิการพระราชวัง เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูลให้สมาคมเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์  และได้รับพระบรมราชานุญาต  รับสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เป็นสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์  “ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  ตั้งแต่วันที่ ๑๗  มกราคม ๒๕๓๙  ตามหนังสือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร. ๐๒๑๗/๕๗๔๐ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙

นายบริพันธ์  ชัยภูมิ ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ (คนที่ ๕) สมัยที่ ๒๐ วาระปีพ.ศ ๒๕๖๑ – พ.ศ ๒๕๖๒  ตามใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๑  ซึ่งคณะกรรมการบริหารชุดนี้ได้ปฏิบัติงานครบตามวาระ ๒ ปี และมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ชุดใหม่ตามระเบียบ         

นางสาวพรลพัชร นรารัตน์วันชัย ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ (คนที่ ๖) สมัยที่ ๒๑ วาระปี พ.ศ. ๒๕๖๓ – พ.ศ.๒๕๖๔ ตามใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๓

และล่าสุด นางสาวชุติพันธุ์ ลิมปะพันธุ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมฯ (คนที่ ๗) สมัยที่ ๒๒ วาระปี พ.ศ. ๒๕๖๕- พ.ศ.๒๕๖๖ ตามใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นชุดใหม่ทั้งชุด ในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๕

                แม้ว่า ระเบียบว่าด้วยการบริหารงานวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๑๘  จะถูกยกเลิกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กสทช.) ขึ้นแทน  และระเบียบดังกล่าว ได้รับการปรับปรุงแก้ไขเป็นระเบียบคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังคงมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับการบริหารกิจการวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนนักจัดรายการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเหมือนเดิม

ดังนั้น การอบรม “ เจ้าหน้าที่รายการวิทยุกระจายเสียง” ภายใต้ระเบียบดังกล่าว จึงได้ดา เนินการติดต่อกันตลอดมาอย่าง
ต่อเน่อื ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ มีการอบรม รุ่นที่ ๓๓ ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๒ และรุ่นที่ ๓๔ ระหว่างวันที่ ๑๖- ๒๒
พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ( ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ อบรม ๒ รุ่น คือ รุ่นที่ ๓๕ และ๓๖)
การจัดอบรมมีการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และมีสาระความรู้ครบถ้วน เพ่อื ให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และนา ไปปฏิบัติ
ประกอบอาชีพให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปี พ.ศ.๒๕๖๑ จนถึงปัจจุบัน ได้พัฒนาหลักสูตรการอบรมบุคลากรให้ความรู้ ทางด้าน
วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และเพิ่มเติมในเรื่องสื่อออนไลน์ด้วย เนื่องจากในยุคปัจจุบันสื่อออนไลน์มีความจา เป็นอย่างยิ่งในการ
ประกอบอาชีพด้านสื่อสารมวลชน ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้เปลี่ยนช่อื หลักสูตรเป็น “ หลักสูตรนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ ” และเปิด
อบรมหลักสูตรนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ รุ่น ๗๖ ระหว่างวันที่ ๑๙ –๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๒ และรุ่นล่าสุดคือ รุ่น ๗๘ ระหว่างวันที่
๑๒-๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมฯ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกรวม
๓๐,๐๐๐ กว่าคน
นอกจากนี้ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังสนับสนุนและช่วยเหลือสังคมในทุกด้าน
ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ นายวีระ ลิมปะพันธ์ุ นายกสมาคมฯ และคณะกรรมการบริหารฯ จัดให้มีรางวัลเทพทองขึ้น เพ่อื เป็นรางวัล เป็นขวัญ
และกา ลังใจ ให้กับองค์กรดีเด่น ผู้ท่ที า คุณประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ นักวิทยุดีเด่น และนักโทรทัศน์ดีเด่นทั่วประเทศ
ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นายวีระ ลิมปะพันธ์ุ นายกสมาคมฯ ได้ทา หนังสือทูลเกล้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทาน
รางวัลเทพทอง ให้กับองค์กรดีเด่น นักวิทยุดีเด่น นักโทรทัศน์ดีเด่น และผู้ให้การสนับสนุนการจัดงานรับโล่พระราชทาน ซึ่งรางวัล
เทพทอง ถือเป็นรางวัลพระราชทานอันทรงค่ายิ่งกับสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยนายบริพันธ์ ชัยภูมิ นายกสมาคมฯ ได้ทา หนังสือขอทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานรางวัลเทพทอง ครั้งที่ ๒๐

หน้าที่ของกรรมการบริหาร

ตำแหน่งหน้าที่ของอนุกรรมการ

Subscribe US Now

Call Now Button