จรรยาบรรณวิชาชีพฯ

ประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพ นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2538

สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

สำหรับประเทศไทยมีสถาบันของผู้ประกอบอาชีพนักวิทยุกระจายเสียง และนักวิทยุโทรทัศน์ คือ สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ.2538 ได้มี

การกำหนดจรรยาบรรณออกมาใช้เพื่อควบคุมนักวิทยุกระจายเสียงและนักวิทยุโทรทัศน์ โดยสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดังต่อไปนี้

คำปรารภ

โดยที่ได้พิจารณาเห็นว่า  ในปัจจุบัน  นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์   มีบทบาท

และหน้าที่ในฐานะนักสื่อสารมวลชน เป็นผู้ส่งสารผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์

ไปยังผู้รับสารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทรงไว้ซึ่งอิทธิพลในการสร้างประชามติ

ค่านิยม  และโน้มน้าวให้เกิดความเชื่อถือ   เป็นเวทีเสรีในการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากบทบาทดังกล่าว

จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวางในการเสริมสติปัญญา  พิทักษ์เสรีภาพส่วนบุคคล เกื้อกูลระบบเศรษฐกิจ เกื้อกูลระบบการเมือง พิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศชาติ  และให้ความบันเทิง  โดยตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความมีเสรีภาพ นักจัดรายการวิทยุแลโทรทัศน์ จึงต้องมีความรับผิดชอบในวิชาชีพของตน ต่อบุคคลองค์กร และสถาบันอื่นๆ  ในสังคม  ตามหลักแห่งคุณธรรม  จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ  ทั้งนี้ ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่น สมัครสมานสามัคคีในสังคม ประเทศชาติ  ให้วัฒนาสถาพรสืบไป

หมวดที่ 1 ความทั่วไป

เพื่อประกาศความสำนึก และความรับผิดชอบ ของนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์

ให้ประจักษ์แก่สาธารณชน คณะกรรมการบริหารสมาคมวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ในการประชุมครั้งที่ 2/2538 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 มีมติให้ตราประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้

1. ประมวลจรรยาฉบับนี้ เรียกว่า ประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2538

2. ให้ใช้ประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพ นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2538

ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2538 เป็นต้นไป

3. ในประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ ฉบับนี้

คำว่า “จรรยาบรรณ” หมายถึง หลักจริยธรรม ซึ่งได้ตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

เพื่อเป็นหลักแห่งความประพฤติปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์

คำว่า “ข่าว” หมายถึง  บรรดาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม และได้รับการ

เรียบเรียงเป็นรายงานด้วยลายลักษณ์อักษร  หรือคำพูดเพื่อนำเสนอทางสื่อสารมวลชนวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

คำว่า “วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์”  หมายถึงวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ตามความในมาตรา 3  แห่งพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2530

คำว่า “นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์” หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพเป็นผู้จัดรายการ

ผู้ดำเนินรายการ และผู้ประกาศ ตามในกฎกระทรวงฉบับที่ 14 (2537)  ออกตามความ

ในพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 และระเบียบกรมประชา-

สัมพันธ์ว่าด้วยการทดสอบและอบรมผู้ประกาศของวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ พ.ศ.2537

คำว่า “องค์กร”  หมายถึง หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนหรือที่ได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย

คำว่า “สถาบัน”  หมายถึง องค์กรหลายองค์กร ปฏิบัติงานหลักเรื่องเดียวกัน

คำว่า “บุคคล”  หมายถึง ปัจเจกบุคคลในสังคมของชาติโดยส่วนรวมปราศจากซึ่งการแบ่งชั้นวรรณะ เชื้อชาติ ศาสนา

คำว่า “การโฆษณา” หมายถึง การกระทำใดๆ  ของนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์  เพื่อให้ข้อมูลข้อสารของสินค้า  หรือบริการเผยแพร่  ผ่านสื่อวิทยุกระจาย

เสียงและวิทยุโทรทัศน์

คำว่า “ภาพ” หมายถึง ภาพ  ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ที่ไม่ถาวร ซึ่งปรากฏ

บนจอเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์

หมวดที่ 2 จรรยาบรรณในการเสนอข่าว

เพื่อสนองสิทธิในการรับรู้ (Right to know)  ของประชาชน นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ พึงมีความรับผิดชอบในการเสนอข่าว และความสำนึกต่อวิชาชีพของตน ดังต่อไปนี้

1. ไม่เสนอข่าวและภาพ ซึ่งรู้อยู่แก่ใจว่า เป็นเท็จไม่ว่าลักษณะใดๆ

2. ไม่เสนอข่าวและภาพ ซึ่งทำให้ประชาชนเสียขวัญ เกิดการแตกแยก กระทบ

กระเทือนความมั่นคงแห่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศ

3. ไม่เสนอข่าวและภาพลามกอนาจาร ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม

อันดีของประชาชน

4. ไม่เสนอข่าวและภาพไร้สาระ ชวนให้หลงเชื่อ  งมงาย

5. ไม่เสนอข่าวและภาพด้วยความลำเอียง  อันอาจทำให้สาธารณชน  วินิจฉัย

คลาดเคลื่อน

6. ไม่สอดแทรกความคิดเห็นใดๆ ของตนลงในข่าว

7. ในกรณีคัดลอกข้อความจากหนังสือพิมพ์หรือหนังสืออื่น ต้องแจ้งให้ทราบ ซึ่ง

แหล่งข้อมูลที่มาของข้อความนั้น

8. ภาษาที่ใช้ในการเสนอข่าวและบรรยายภาพ ต้องสุภาพ  ปราศจากความหมาย

ในเชิงเหยียดหยาม  กระทบกระเทียบเปรียบเปรย  เสียดสี

9. ไม่ใช้การเสนอข่าวและภาพ เป็นไปในทางโฆษณาตนเอง

10. ไม่เสนอข่าวและภาพ ซึ่งขัดกับสาธารณประโยชน์ของประชาชน และสังคม

ประเทศชาติ

11. ไม่เสนอข่าวและภาพ ซ้ำเติม ระบายสี บุคคล องค์กร สถาบัน ซึ่งตกเป็นข่าว

12. ไม่เสนอข่าวและภาพ ในเชิงดูหมิ่น เหยียดหยามลัทธิความเชื่อในศาสนาใดๆ

13. พึงให้ความเคารพ ต่อสิทธิของบุคคล องค์กร และสถาบันอื่นๆ ตามกฎหมาย

14. พึงรับผิดและแก้ไขโดยเปิดเผย และไม่ชักช้า ถ้าเกิดความเสียหายแก่บุคคล

องค์กร หรือสถาบัน ในการเสนอข่าวผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

15. พึงละเว้นการรับอามิสสินจ้างใดๆ ที่ให้ทำ หรือละเว้นการกระทำเกี่ยวกับการ

เสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา

หมวดที่ 3   จรรยาบรรณในการแสดงความเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์

ในการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ พึง

มีความรับผิดชอบและความสำนึกต่อวิชาชีพของตน ดังต่อไปนี้

1. พึงแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยสำนึกและความรับผิดชอบ ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2. พึงแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน กระทำได้อย่างเปิดเผย

3. พึงงดการแสดงความคิดเห็นชี้นำและการวิพากษ์วิจารณ์ อันเป็นการส่อไปในทางมีอคติในทางหนึ่งทางใด

4. พึงเคารพความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่น ซึ่งไม่ตรงกับความคิด เห็นของตน

5. พึงแสดงความคิดเห็นของตน ด้วยความสุภาพ และด้วยความรอบครบ ภายใต้ประเด็นของข้อเท็จจริง

6. พึงปฏิบัติต่อบุคคล องค์กร  หรือสถาบัน  ด้วยความสุภาพและมีเกียรติเสมอกันโดยไม่คำนึงถึงฐานะความมั่งคั่งทางสังคม

7. พึงละเว้นการแสดงความเห็นชวนเชื่อ  เว้นแต่การกระทำเช่นนั้น เป็นประโยชน์สูงสุดของชาติ

หมวดที่ 4   จรรยาบรรณในการประกาศโฆษณา

ในการประกาศโฆษณา ข้อความ เครื่องหมายรูปภาพ   ทั้งภาพนิ่งและภาพ

เคลื่อนไหว  ทางสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งดำเนินการโดยนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์  พึงมีความรับผิดชอบและสำนึกต่อวิชาชีพของตน  ดังต่อไปนี้

1. พึงดำเนินการโฆษณาสินค้าและบริการ  ด้วยการให้ข่าวสารที่ถูกต้อง  ไม่โอ้อวดเกินความเป็นจริง  ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2. พึงดำเนินการโฆษณา  ภายใต้ขอบเขตของศีลธรรม  วัฒนธรรม  และจารีตประเพณีอันดีของประชาชน

3. พึงละเว้นการโฆษณาสินค้าหรือบริการ  ที่เป็นการหลอกลวง ไม่ว่าจะกระทำด้วยรูปแบบใดๆ

4. พึงละเว้นการโฆษณาสินค้าหรือบริการ โดยมีเจตนาให้หลงเชื่อ งมงาย

5. พึงละเว้นการโฆษณาทำลายคู่แข่งทางการค้า โดยไม่เป็นธรรม

6. พึงละเว้นการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย

7. พึงละเว้นการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ที่เป็นภัยแก่สุภาพ หรือทำให้วัฒนธรรมเสื่อมโทรม

8. พึงละเว้นการโฆษณาสินค้าหรือบริการ ที่มีเจตนาเพื่อค้ากำไรเกินควร

9. พึงละเว้นการโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เสียดสีผู้อื่น

10. พึงละเว้นการโฆษณาโน้มน้าว ชี้นำ ให้ใช้สิทธิเลือกตั้งผู้หนึ่งผู้ใด  โดยรับอามิสสินจ้างตอบแทนหรือไม่ก็เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ

11. พึงละเว้นการประกาศโฆษณาสินค้าหรือบริการ โดยปราศจากชื่อผู้ผลิต หรือบริการ

12. พึงละเว้นการประกาศโฆษณาสินค้าหรือบริการ  ที่สงสัยว่าจะเป็นภัยต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

หมวดที่ 5  ความประพฤติ

ในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม (Behavior) ต่างๆ นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ พึงมีความรับผิดชอบ และมีความสำนึกต่อวิชาชีพของตน ดังต่อไปนี้

1. นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ต้องบำเพ็ญตนให้สมเกียรติแห่งวิชาชีพของตน

2. นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ให้สมเกียรติตามฐานะในสังคมของตน

3. นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ ต้องพยายามเรียนรู้ระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของสังคมเพื่อเข้าร่วมงานสังคมได้โดยปราศจากการเคอะเขิน

4. นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ พึงละเว้นการอวดอ้างฐานะของตน ที่เป็นนัก จัดรายการวิทยุและโทรทัศน์

5. นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์   พึงละเว้นการเรียกร้องสิทธิประโยชน์มิควรได้ ได้โดยไม่ชอบธรรม

6. นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์จะไม่เปิดเผยความลับของผู้สนับสนุนรายการให้แก่คู่แข่งขันทางธุรกิจการค้า ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

7. นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์  ต้องเป็นผู้รักษาระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด  ไม่สร้างความเสื่อมเสียในหมู่คณะและสมาคมวิชาชีพของตน

ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2538

นาย วีระ ลิมปะพันธุ์

นายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

หลังจากที่สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ประกาศใช้ประมวลจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2538 แล้วนั้น ต่อมาภายหลังเพื่อให้เกิดความสะดวกในการประกอบวิชาชีพทางด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์    จึงได้นำเสนอ หลักกฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ซึ่งเป็นข้อห้าม  ดังต่อไปนี้

*ห้าม*เสนอข่าวสารหรือประชาสัมพันธ์ข้อความซึ่งรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า

*  เป็นเท็จ ทำให้ประชาชนเสียขวัญ เกิดการแตกแยก

*  กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ สัมพันธ -ไมตรีระหว่างประเทศ

*  เป็นข่าวลือไร้สาระ ชวนให้หลงงมงายอาจทำให้สาธารณชนวินิจฉัยคลาดเคลื่อน

*  เป็นการระบายสี บุคคล องค์กร สถาบัน ซึ่งตกเป็นข่าว

*  เป็นการดูหมิ่น เหยียดหยาม ลัทธิ ความเชื่อในศาสนาใดๆ

*  โฆษณา หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ม.112 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณา หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ (ม.133 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณา หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ผู้แทนรัฐต่าง

ประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่ราชสำนัก (ม.134 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณายุยงให้ทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ ให้ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือให้ก่อการกำเริบ โดยมุ่งหมายให้วินัยของทหารและตำรวจเสื่อมทรามลง (ม.115 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาแก่ประชาชนด้วยวาจา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน (ม.116 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณายุยงให้เกิดการร่วมนัดหยุดงาน  ร่วมกันปิดงาน  งดจ้าง  หรือการร่วมกัน ไม่ยอมค้าขาย หรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด เพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อบังคับรัฐบาล หรือเพื่อข่มขู่ประชาชน (ม.117 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณา หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้ หรือได้ไปซึ่งข้อความ ซึ่งปกปิด ไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ (ม.124 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาหรือกระทำการใดๆ เพื่อให้เกิดเหตุร้ายซึ่งไม่เป็นผลดีในด้านความมั่นคงหรือความปลอดภัย กับประเทศจากภายนอก (ม.127 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาหรือจัดส่งข้อความใดๆ  โดยวิทยุโทรคมนาคม อันตนรู้อยู่ว่าเป็นเท็จ

หรือข้อความที่ไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่  ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาต่อประเทศชาติ หรือประชาชน (ม.16,ม.23 พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม 2498 ม.10,ม.21 พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์)

* โฆษณา หรือ  เปิดเผย  โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งข่าววิทยุโทรคมนาคม  ที่มิได้

มุ่งหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน (ม.17,ม.25, พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม 2498)

*  โฆษณาบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลื่อ จนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตกใจ (ม.384 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาดูหมิ่น  แสดงการดูถูก  เหยียดหยาม  สบประมาท  หรือด่า  ผู้อื่นซึ่งหน้า (ม.393 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาคุณภาพสินค้าประเภทอาหาร เกินจริง (ม.40, ม.70, พ.ร.บ.อาหาร)

*  โฆษณาคุณภาพ คุณประโยชน์ สรรพคุณอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต (ม.41, ม.71 พ.ร.บ.อาหาร)

* โฆษณาขายยา จะต้องไม่ (ตาม ม.88, ม.124, ม.124 ทวิ พ.ร.บ.ยา)

– โอ้อวดสรรพคุณหรือส่วนประกอบยาว่า รักษาหายได้ อย่างศักดิ์สิทธิ์หรือหายขาด

– แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง

– ทำให้เข้าใจผิดว่ามีวัตถุใดเป็นส่วนผสมของยา ซึ่งความจริงแล้วไม่มี

– แสดงสรรพคุณ ยาอันตราย หรือ ยาควบคุมพิเศษ

– รับรองหรือยอย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น

– ไม่แสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัดบรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคที่รัฐมนตรีกำหนด เช่น ประกาศเขตพื้นที่โรคติดต่อร้ายแรง ไข้หวัดนก ไข้หวัดสายพันธุ์

* โฆษณาขายยา จะต้องได้รับอนุญาตให้โฆษณาจาก อ.ย.(ตาม ม.88 ทวิ, ม.124 ข้อความ เสียง หรือ ภาพ)

* โฆษณาขาย ไม่สุภาพโดยการร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย (ม.89, ม.124 พ.ร.บ.ยา)

* โฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพก หรือ ออกสลากรางวัล (ม.90, ม.124 พ.ร.บ.ยา)

* โฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ (ม.48, ม.89 พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ)

*  โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ ปริมาณ มาตรฐาน หรือแหล่งกำเนิด เครื่องมือแพทย์ อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวง (ม.41, ม.77 พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์)

*  โฆษณาเครื่องมือแพทย์เพื่อประโยชน์ในการทางค้า  ต้องได้รับความเห็นชอบจาก อ.ย. ในข้อความ ภาพ เสียงที่จะใช้โฆษณา และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ อ.ย. กำหนด  (ม.42, ม.78 พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์)

*  โฆษณาสรรพคุณเครื่องสำอางเกินความเป็นจริง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค  (ม.22, ม.48)

*  โฆษณาโดยการอ้างรายงานทางวิชาการ  ผลการวิจัย  สถิติการรับรองของสถาบันหรือบุคคลอื่นใด  หรือยืนยันข้อเท็จจริงอันใด  ถ้าผู้กระทำการโฆษณาไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเป็นความจริงตามที่กล่าวอ้าง (ม.28, ม.49 พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค)

*  โฆษณาความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไป ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้า (ตาม ม.33 พ.ร.บ.ความลับทางการค้า)

*  โฆษณาเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการหรือการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย (ม.53 ตาม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า)

*  โฆษณา  หรือ  ไขข่าวแพร่หลาย  ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง  เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียง  ทางทำมาหาได้ หรือ ทางเจริญของบุคคลอื่น (ม.423, ม.425, ม.447 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

*  โฆษณาหรือเปิดเผยข้อความในจดหมายปิดผนึก หรือโทรเลข เพื่อล่วงรู้ข้อความและการโฆษณาหรือเปิดเผยนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด  (ม.322 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาหรือใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม  และจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น  หรือถูกเกลียดชัง  เป็นการหมิ่นประมาท (ม.326 ม.328 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาหรือใส่ความผู้ตาย  ต่อบุคคลที่สาม  ซึ่งจะทำให้  บิดา  มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตาย  เสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น  หรือถูกเกลียดชัง เป็นการหมิ่นประมาท  (ม.327ม.328 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาด้วยแผ่นเสียง  สิ่งบันทึกเสียง  บันทึกภาพ  กระทำโดยการกระจายเสียงหรือกระจายภาพ และเป็นการหมิ่นประมาท  (ม.326, ม.32, ม.328 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาไขข่าวแพร่หลาย  ซึ่งข้อความเป็นเท็จ เพื่อให้เสียความเชื่อถือในสถานที่การค้า  สินค้าอุตสาหกรรม หรือพาณิชยการ ของผู้หนึ่งผู้ใด โดยมุ่งประโยชน์แก่การ

ค้าของตน (ม.272 ประมวลกฎหมายอาญา)

*  โฆษณาหรือไขข่าวโดยประการใดๆ  เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย  ซึ่งการค้าวัตถุ หรือสิ่งของลามก หรือไขข่าวว่าจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด เพื่อความประสงค์แห่งการค้า (ม.287 ประมวลกฎหมายอาญา)

Subscribe US Now

Call Now Button